พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระสมเด็จพิมพ์ ...
พระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นหูติ่ง พระครูสังฆ์ วัดอินทร์
พระพิมพ์ 7 ชั้นหูติ่ง พระครูสังฆ์ (โทร)(v)0813116011 (ข้อความ)id 0818306399
สถาพ ยังน่าใช้ตามรูปคนับ ยันต์กดได้ลึกขัด

ชื่อ พระสมเด็จ พิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่งพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ ปี ๒๔๘๕

รายละเอียดพระ

พระสมเด็จ พิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง ด้านหลังตราดอกจันทร์ อายุความเก่าก็ ๗๐กว่าปี พระถูกกดพิมพ์ออกมาติดลึกคมชัด เนื้อหาเก่าแห้งจัด องค์จริงเนื้อหาจัดมากทั้งแกร่งและหนึกนุ่ม ไม่มีอุดไม่มีซ่อม

ได้มีการกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆัง หรือพระสมเด็จของหลวงปู่ภู ก็ใช้พระสมเด็จของพระครูสังฆรักษ์แทน อายุพระก็เก่า ราคาไม่แพง และนับวันจะหายากขึ้น น่าสะสมมากครับ

ประวัติ พระสังฆรักษ์(เงิน) อินทสโร วัดอินทรวิหาร(บางขุนพรหม) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ณ. บ้านหนองน้ำขาว ตำบลคู จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายโต๊ะ และ นางแก้ว ศรีสุวรรณ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยมี พระครูอินทเขมา (ห้อง พุทธรกขิโต) วัดช่องลม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขำ วัดเทพอาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฟั่น วัดเทพอาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “อินทสโร” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่ตำบลดอนไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ได้ศึกษาวิชาด้าน วิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทต่างๆ จากพระเกจิยุคเก่าแห่งเมืองราชบุรีหลายท่าน อาทิ เช่น พระครูอินเขมา หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม , พระพุทธวิริยากร หลวงพ่อจิตร วัดสัตนารถปริวัตร เป็นต้น ท่านได้ปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิมาโดยตลอดจนเชี่ยวชาญ และในเวลาต่อมาท่านได้เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดปรินายก ตำบลบ้านพานถม อำเภอพระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗

จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งเบญจมบพิตร เจ้าคณะแขวงกลาง ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ท่านมาหาหลวงปู่ภู และบอกหลวงปู่ภูว่า “สมเด็จโตให้ฉันมาสร้างพระ” ซึ่งหลวงปู่ภู ท่านก็เห็นชอบด้วย (ท่านอาจจะทราบด้วยอภิญญา ว่าจะมีผู้มีบุญบารมีมาช่วยท่านสร้างพระ) และได้ลงมือก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตที่คงค้างอยู่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของท่านในปีพ.ศ.๒๔๗๐

ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารจนถึงกาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชการที่ ๙)

ท่านพระครูสังฆ์ ได้สร้างปลุกเสกวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงหลายๆรุ่น เช่น
พระพิมพ์สมเด็จ หลังดอกจันทร์และหลังยันต์ห้า ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เรียกว่า “รุ่นอินโดจีน” มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น
พิมพ์แซยิด(ข้างยันต์)
พิมพ์แขนกลม
พิมพ์แขนหักซอก
พิมพ์ฐานคู่
พิมพ์สามชั้นฐานหมอน
พิมพ์อุ้มบาตร
พิมพ์พระประจำวัน และอีกหลายๆพิมพ์เป็นต้น

เป็นพระรุ่นแรกที่ท่านได้สร้างขึ้นตอนที่มีสมณะศักดิ์เป็น “พระครูสังฆรักษ์” คนทั่วไปนิยมเรียกชื่อ พระรุ่นนี้ว่า “พระสมเด็จ พระครูสังฆ์” พระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้ ใส่ผงพุทธคุณวิเศษที่ท่านเสกและลบเอง ผงพระสมเด็จของหลวงปู่ภูอีกส่วนหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด ตามประวัติที่วัด ได้ผสมผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักชำรุด ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พหรมรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม ลงไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่ใส่นิดหน่อยหรือเล็กน้อย ใส่กันหลายบุ้งกี๋ทีเดียว มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี๒๕๐๙ เสียอีก จึงน่าจะใช้แทนพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่มีราคาสูงมากได้ แล้วไปเอาผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักชำรุดมาจากไหน????

พระครูสังฆ์ ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดอินทร์แทนหลวงปู่ภูเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้เริ่มงานก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตยืนอุ้มบาตรที่ค้างคาอยู่ และได้สำรวจพบว่ามี พระสมเด็จกองอยู่ข้างบนมากมาย ในลักษณะที่เตรียมจะบรรจุในองค์หลวงพ่อโตองค์นี้ เข้าใจกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ท่านสร้างพระเหล่านี้ไว้เตรียมที่จะบรรจุ แต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน และน่าจะเป็นไปได้ว่า ตอนสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ต้องมีพระส่วนหนึ่งชำรุดอยู่เป็นอันมาก ที่เหลือจากไม่ได้บรรจุเข้าเจดีย์ที่วัดใหม่อมตรส และยังสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ปลุกเสกแล้ว บรรจุเข้าเจดีย์ซึ่งเสมียนตราด้วงบูรณะ ได้มีการแบ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมบางส่วน นำขึ้นไปกองบนองค์หลวงพ่อโตเพื่อเตรียมการบรรจุกรุด้วย

พระครูสังฆ์ ท่านได้ให้ช่างชาวจีนที่เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ขนเอาลงมา ซึ่งส่วนมากเป็นพระแตกหักชำรุด ท่านได้นำพระสมเด็จเหล่านี้ มาบดให้ละเอียด เติมปูนขาวกับดินสอพองและน้ำมันตั๊งอิ้วลงไปผสม แล้วกดพิมพ์พระออกมาในรูปแบบของพระใหม่ โดยใช้แม่พิมพ์จากพระหลวงปู่ภูบ้าง แกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่เองบ้าง เมื่อสร้างครบ ๘๔,๐๐๐ องค์แล้ว จึงได้ทำพิธีปลุกเสก โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคุณวุฒิทางด้านวิทยาคม ในยุคโน้นมาร่วมปลุกเสก หลังจากเสร็จพิธีได้นำพระมาแจกสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ สมทบทุนก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ในราคาองค์ละ ๑ บาท เนื่องจากเป็นพระที่ใส่ผงเก่ามาก เพราะใช้พระสมเด็จที่แตกหักชำรุดจำนวนมาก มาโขลก ตำป่นให้ละเอียด แล้วกดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ จำนวนพระที่สร้างไม่มาก แต่ผงเก่าจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่พระพิมพ์สมเด็จพระครูสังฆ์ จะมีสีขาวอมเหลือง ผิวเหนอะจากคราบน้ำปูนที่ลอยอยู่บนหน้า มีความหนึกและนุ่มคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า เนื้อจัดมาก อย่างกับพระของหลวงปู่ภู

ได้มีการกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆัง หรือพระสมเด็จของหลวงปู่ภู ก็ใช้พระสมเด็จพระครูสังฆรักษ์แทน เพราะท่านก็เป็นศิษย์หลวงปู่ภูเช่นกัน พระเก่า ราคาไม่แพง นับวันจะหายาก น่าสะสมครับ

ขอขอบพระคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เข้าชม
9809 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
kaew กจ.เปียโนหริด์ เก้าแสนนานาอ้วนโนนสูงภูมิ IR
Beerchang พระเครื่องvaravetเจนพระเครืองโกหมูLe29AmuletKoonThong_Amulets
เจริญสุขนรินทร์ ทัพไทยtermboonยิ้มสยาม573somemanโก้ สมุทรปราการ
Paphon07พีพีพระเครื่องchathanumaanAchisomphopอี๋ ล็อคเกต
fuchoo18บี บุรีรัมย์Chobdoysata chaithawatnatthanetvanglanna

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1294 คน

เพิ่มข้อมูล

พระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นหูติ่ง พระครูสังฆ์ วัดอินทร์



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นหูติ่ง พระครูสังฆ์ วัดอินทร์
รายละเอียด
พระพิมพ์ 7 ชั้นหูติ่ง พระครูสังฆ์ (โทร)(v)0813116011 (ข้อความ)id 0818306399
สถาพ ยังน่าใช้ตามรูปคนับ ยันต์กดได้ลึกขัด

ชื่อ พระสมเด็จ พิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่งพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ ปี ๒๔๘๕

รายละเอียดพระ

พระสมเด็จ พิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง ด้านหลังตราดอกจันทร์ อายุความเก่าก็ ๗๐กว่าปี พระถูกกดพิมพ์ออกมาติดลึกคมชัด เนื้อหาเก่าแห้งจัด องค์จริงเนื้อหาจัดมากทั้งแกร่งและหนึกนุ่ม ไม่มีอุดไม่มีซ่อม

ได้มีการกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆัง หรือพระสมเด็จของหลวงปู่ภู ก็ใช้พระสมเด็จของพระครูสังฆรักษ์แทน อายุพระก็เก่า ราคาไม่แพง และนับวันจะหายากขึ้น น่าสะสมมากครับ

ประวัติ พระสังฆรักษ์(เงิน) อินทสโร วัดอินทรวิหาร(บางขุนพรหม) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ณ. บ้านหนองน้ำขาว ตำบลคู จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายโต๊ะ และ นางแก้ว ศรีสุวรรณ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยมี พระครูอินทเขมา (ห้อง พุทธรกขิโต) วัดช่องลม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขำ วัดเทพอาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฟั่น วัดเทพอาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “อินทสโร” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่ตำบลดอนไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ได้ศึกษาวิชาด้าน วิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทต่างๆ จากพระเกจิยุคเก่าแห่งเมืองราชบุรีหลายท่าน อาทิ เช่น พระครูอินเขมา หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม , พระพุทธวิริยากร หลวงพ่อจิตร วัดสัตนารถปริวัตร เป็นต้น ท่านได้ปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิมาโดยตลอดจนเชี่ยวชาญ และในเวลาต่อมาท่านได้เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดปรินายก ตำบลบ้านพานถม อำเภอพระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗

จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งเบญจมบพิตร เจ้าคณะแขวงกลาง ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ท่านมาหาหลวงปู่ภู และบอกหลวงปู่ภูว่า “สมเด็จโตให้ฉันมาสร้างพระ” ซึ่งหลวงปู่ภู ท่านก็เห็นชอบด้วย (ท่านอาจจะทราบด้วยอภิญญา ว่าจะมีผู้มีบุญบารมีมาช่วยท่านสร้างพระ) และได้ลงมือก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตที่คงค้างอยู่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของท่านในปีพ.ศ.๒๔๗๐

ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารจนถึงกาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชการที่ ๙)

ท่านพระครูสังฆ์ ได้สร้างปลุกเสกวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงหลายๆรุ่น เช่น
พระพิมพ์สมเด็จ หลังดอกจันทร์และหลังยันต์ห้า ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เรียกว่า “รุ่นอินโดจีน” มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น
พิมพ์แซยิด(ข้างยันต์)
พิมพ์แขนกลม
พิมพ์แขนหักซอก
พิมพ์ฐานคู่
พิมพ์สามชั้นฐานหมอน
พิมพ์อุ้มบาตร
พิมพ์พระประจำวัน และอีกหลายๆพิมพ์เป็นต้น

เป็นพระรุ่นแรกที่ท่านได้สร้างขึ้นตอนที่มีสมณะศักดิ์เป็น “พระครูสังฆรักษ์” คนทั่วไปนิยมเรียกชื่อ พระรุ่นนี้ว่า “พระสมเด็จ พระครูสังฆ์” พระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้ ใส่ผงพุทธคุณวิเศษที่ท่านเสกและลบเอง ผงพระสมเด็จของหลวงปู่ภูอีกส่วนหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด ตามประวัติที่วัด ได้ผสมผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักชำรุด ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พหรมรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม ลงไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่ใส่นิดหน่อยหรือเล็กน้อย ใส่กันหลายบุ้งกี๋ทีเดียว มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี๒๕๐๙ เสียอีก จึงน่าจะใช้แทนพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่มีราคาสูงมากได้ แล้วไปเอาผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักชำรุดมาจากไหน????

พระครูสังฆ์ ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดอินทร์แทนหลวงปู่ภูเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้เริ่มงานก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตยืนอุ้มบาตรที่ค้างคาอยู่ และได้สำรวจพบว่ามี พระสมเด็จกองอยู่ข้างบนมากมาย ในลักษณะที่เตรียมจะบรรจุในองค์หลวงพ่อโตองค์นี้ เข้าใจกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ท่านสร้างพระเหล่านี้ไว้เตรียมที่จะบรรจุ แต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน และน่าจะเป็นไปได้ว่า ตอนสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ต้องมีพระส่วนหนึ่งชำรุดอยู่เป็นอันมาก ที่เหลือจากไม่ได้บรรจุเข้าเจดีย์ที่วัดใหม่อมตรส และยังสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ปลุกเสกแล้ว บรรจุเข้าเจดีย์ซึ่งเสมียนตราด้วงบูรณะ ได้มีการแบ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมบางส่วน นำขึ้นไปกองบนองค์หลวงพ่อโตเพื่อเตรียมการบรรจุกรุด้วย

พระครูสังฆ์ ท่านได้ให้ช่างชาวจีนที่เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ขนเอาลงมา ซึ่งส่วนมากเป็นพระแตกหักชำรุด ท่านได้นำพระสมเด็จเหล่านี้ มาบดให้ละเอียด เติมปูนขาวกับดินสอพองและน้ำมันตั๊งอิ้วลงไปผสม แล้วกดพิมพ์พระออกมาในรูปแบบของพระใหม่ โดยใช้แม่พิมพ์จากพระหลวงปู่ภูบ้าง แกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่เองบ้าง เมื่อสร้างครบ ๘๔,๐๐๐ องค์แล้ว จึงได้ทำพิธีปลุกเสก โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคุณวุฒิทางด้านวิทยาคม ในยุคโน้นมาร่วมปลุกเสก หลังจากเสร็จพิธีได้นำพระมาแจกสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ สมทบทุนก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ในราคาองค์ละ ๑ บาท เนื่องจากเป็นพระที่ใส่ผงเก่ามาก เพราะใช้พระสมเด็จที่แตกหักชำรุดจำนวนมาก มาโขลก ตำป่นให้ละเอียด แล้วกดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ จำนวนพระที่สร้างไม่มาก แต่ผงเก่าจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่พระพิมพ์สมเด็จพระครูสังฆ์ จะมีสีขาวอมเหลือง ผิวเหนอะจากคราบน้ำปูนที่ลอยอยู่บนหน้า มีความหนึกและนุ่มคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า เนื้อจัดมาก อย่างกับพระของหลวงปู่ภู

ได้มีการกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆัง หรือพระสมเด็จของหลวงปู่ภู ก็ใช้พระสมเด็จพระครูสังฆรักษ์แทน เพราะท่านก็เป็นศิษย์หลวงปู่ภูเช่นกัน พระเก่า ราคาไม่แพง นับวันจะหายาก น่าสะสมครับ

ขอขอบพระคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
9810 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี